​มรย. ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ 2566 สร้างความรู้ความเข้าใจ และมุ่งสร้างมหาวิทยาลัยแห่งความสุข Happy University


มรย. ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ 2566 สร้างความรู้ความเข้าใจ และมุ่งสร้างมหาวิทยาลัยแห่งความสุข Happy University

วันนี้ (9 มิ.ย.66) เวลา 08.40 น. กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดโครงการพัฒนานักศึกษา กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษา รุ่นที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566 เพื่อสร้างความเข้าใจ ปลูกฝังให้นักศึกษาได้รับทราบกับกฎระเบียบวินัย เข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนการสอน การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย การปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข และตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในบทบาทหน้าที่ของการเป็นนักศึกษาที่ดี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานเปิดกิจกรรม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญนภา เกื้อเกตุ รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา กล่าวรายงาน โดยมี ผู้บริหาร บุคลากรทุกภาคส่วน และกองพัฒนานักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะครุศาสตร์ เข้าร่วม

พร้อมกันนี้ได้เยี่ยมและให้กำลังใจบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่เข้ารับบริการคัดกรองสภาวะสุขภาพจิตด้วยการตรวจไบโอฟีดแบ็ค (Biofeedback) จัดโดยหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานอธิการบดี ร่วมกับ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี เพื่อประเมินคัดกรอง และให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต ซึ่งเป็นเครื่องคัดกรองสภาวะสุขภาพจิตเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อการดูแลสุขภาพจิต โดยมี นางสาวการีมะห์ มูซอ นักสุขศึกษา รับผิดชอบกิจกรรมดังกล่าว ณ ห้องกระจกใต้หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มุ่งให้ความสำคัญกับสังคมสุขภาวะ โดยได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการสร้างภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๓๘ แห่ง ภายใต้โครงการ "สร้าง เสริม สุข" มหาวิทยาลัยราชภัฏไปสู่สังคมสุขภาวะ ดำเนินงานร่วมกันเป็นภาคีเครือช่ายในการสร้างมหาวิทยาลัยแห่งความสุข Happy University เพื่อส่งเสริมให้เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุขภาว: โดยส่งเสริมสุขภาวะตามแนวทางความสุข ๘ ประการและแนวทางของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในกลุ่มบุคลากร อาจารย์ นักศึกษาและชุมขนรอบข้าง โดยจะดำเนินการสำรวจระดับความสุขของบุคลากรและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของจำนวนทั้งหมด โดยใช้แบบสอบถาม Happinom meter มหาวิทยาลัยมหิดล

...........................................................

ข่าว/ภาพ งานประชาสัมพันธ์และมวลชนสัมพันธ์

ย้อนกลับ